สถานการณ์ภาคการเกษตรในปัจจุบัน ได้มีการนำเทคโนโลยี วิวัฒนากรที่ทันสมัย เข้ามาอำนวยความสะดวก ปรับปรุงพัฒนาการทำเกษตรกรรมอย่างมากมายหลายแขนง การใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยช่วยทุ่นแรง การใส่ปุ๋ย สารเคมีเป็นตัวช่วยในการเร่งการเจริญเติบโตของพืชผลต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชด้วย การใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ถือเป็นหนึ่งในวิธีการกำจัดวัชพืชวิธีการหนึ่งที่ชาวนาทั้งหลายนิยมใช้ เป็นสารเคมีที่ใช้ได้ผลดีในเชิงเกษตรกรรม แต่ก็มีความรุนแรง อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและผู้ใช้งานที่ใช้อย่างไม่ถูกวิธีได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วหากมีการใช้งานต้องใช้ด้วยความถูกต้อง ระมัดระวัง เพื่อให้มีความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ถือเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีพิษร้ายแรง ใช้ควบคุมวัชพืชไม่ให้รบกวนการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกไว้ เป็นสารเคมีประเภทสัมผัส ใช้ฉีดพ่นทำลายวัชพืชโดยตรง วัชพืชดูดซึมยาฆ่าหญ้าเข้าไปทำให้แห้งเหี่ยวเฉาตาย กำจัดวัชพืชทั้งชนิดใบแคบและใบกว้าง ใช้ได้ทั้ง พื้นที่นาข้าว สวนยางพารา ไร่ข้าวโพด ไร่ถั่ว สวนผลไม้ เป็นต้น มักใช้ในระยะเตรียมดินก่อนปลูก หลังหว่าน หรือหลังงอก
- ก่อนปลูก ใช้สารเคมี ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ที่ให้ฉีดพ่นก่อนการเตรียมดินเพื่อฆ่าวัชพืชที่มีอยู่ก่อนแล้ว
- ก่อนงอก (หลังหว่าน) มักเรียกชื่อเป็น ยาคุมหญ้า ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช พ่นลงผิวดินโดยตรง
- หลังงอก ขั้นตอนนี้เรียก ยาฆ่าหญ้า ใช้ฉีดพ่นหลังวัชพืชงอก พ่นให้สัมผัสวัชพืชมากที่สุด
ในประเทศไทยมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมานาน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะแรงงานในภาคการเกษตรลดลง ย่อมต้องนำเทคโนโลยีและสารเคมีมาใช้มากขึ้น ตามท้องตลาดมียาฆ่าหญ้าในนาข้าวให้เลือกใช้มากมายหลายยี่ห้อ ใช้กำจัดวัชพืชแบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละชนิดแตกต่างกันไปเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชอย่างสูงสุด และนั่นก็จะแฝงไปด้วยอันตรายที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย ซึ่งเกษตรกรต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า สารเคมีทุกชนิด มีพิษต่อสิ่งมีชีวิตในทุกระบบ ฉะนั้นแล้วต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สารเคมีกำจัดวัชพืช ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว เหล่านี้ในรอบด้าน
วิธีการใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าวให้ถูกต้อง
1. เลือกใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าวให้เหมาะกับวัชพืชแต่ละชนิด ใช้ให้ถูกเวลาเหมาะกับอายุของข้าว วัชพืช สภาพแวดล้อม ใช้ให้ถูกอัตราส่วนตามที่ฉลากระบุ ใช้ให้ถูกวิธี มีฤทธิ์ตกค้างสั้น สลายตัวเร็ว
2. ใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าวเท่าที่จำเป็น ในปริมาณที่พอดี ให้ใช้ชนิดเดียวในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง ผสมตามสูตรที่ระบุไว้ ฉีดพ่นให้หมดในแต่ละครั้ง หากเหลือให้เทน้ำยาเก็บเข้าที่ ไม่ทิ้งไว้กลางแดด
3. ต้องอ่านฉลากให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วปฏิบัติตามวิธีการต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด
4. ผสมยาฆ่าหญ้าในนาข้าวโดยใช้อุปกรณ์เท่านั้น ห้ามใช้มือหรืออวัยวะอื่นใดสัมผัสโดยตรงเด็ดขาด
5. สวมใส่อุปกรณ์ ชุดป้องกันให้เรียบร้อย หมวก หน้ากาก แว่นตา ถุงมือ ชุด
6. ขณะฉีดพ่น ยาฆ่าหญ้าในนาข้าวให้อยู่ตำแหน่งเหนือลม ขณะที่มีลมแรง ไม่ควรฉีดพ่นยา
7. ห้ามเป่าหรือดูดหัวฉีดท่อลมที่อุดตันด้วยปาก
8. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มน้ำ รับประทานอาหาร ขณะปฏิบัติงานฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าในนาข้าวเป็นอันขาด
9. ห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่พ่นยาฆ่าหญ้าในนาข้าวหลังการฉีดพ่นยาใหม่ ๆ
10. ชำระร่างกายให้สะอาดและซักเสื้อผ้าทันทีหลังทำงานเสร็จเรียบร้อย
11. ล้างทำความสะอาดถังพ่นยา อุปกรณ์ฉีดพ่นให้เรียบร้อย ป้องกันการกัดกร่อนและการอุดตัน
12. หมั่นสังเกตวัชพืชที่ต้องการกำจัด หากพบการดื้อยา ต้องเปลี่ยนชนิดยาฆ่าหญ้าในนาข้าวทันที
13. จัดการน้ำอย่างเหมาะสม หลังฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าในนาข้าวประมาณ 3 วันควรเอาน้ำเข้านา หากนานเกินไปอาจมีผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดวัชพืช
14. เว้นระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังการฉีดพ่นตามระยะเวลาที่ระบุไว้บนฉลากยาฆ่าหญ้าในนาข้าวอย่างเคร่งครัด
15. จัดเก็บยาฆ่าหญ้าในนาข้าวให้มิดชิด พ้นมือเด็ก สัตว์เลี้ยง ไม่รวมกับอาหารหรือสถานที่ประกอบอาหาร
16. กำจัดภาชนะบรรจุยาฆ่าหญ้าในนาข้าวให้ถูกต้อง ห้ามนำกลับมาใช้เด็ดขาด
พิษภัย อันตรายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพเมื่อได้รับยาฆ่าหญ้าในนาข้าว
- หากสัมผัสกับผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคือง บวม พุพอง เป็นอันตรายที่พบได้มากที่สุด
- หากสัมผัสกับดวงตา ทำให้ตาบวม แดง อักเสบ ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง
- หากสูดดมจะทำให้คลื่นไส้ วิงเวียน
- หากรับประทานจะทำให้ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ ปากคอบวม ท้องเสีย รุนแรงขั้นถ่ายเป็นเลือด
ความรุนแรงของอาการต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับปริมาณการได้รับสารพิษ ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว เข้าไป หากได้รับปริมาณมากทำให้เกิดพิษเฉียบพลันถึงขั้น เป็นตะคริว อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ หายใจไม่ออก ตับทำงานผิดปกติ เล็บมือเล็บเท้าเปลี่ยนสี เล็บหลุดร่อน ทำลายสมอง และทำให้เสียชีวิตได้ แต่หากได้รับในปริมาณน้อย สะสมไปเรื่อย ๆ เกิดพิษเรื้อรัง แสดงอาการช้า อาจเป็นเดือนเป็นปี ก็ได้ เช่น อาการอัมพฤกษ์ อัมพาต มะเร็ง พาร์กินสัน เป็นหมัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้าในนาข้าว
- นำผู้ที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ออกจากบริเวณที่แปลงพ่นยา นอนในที่ร่ม ถอดชุดพ่นยาออก
- ล้างทำความสะอาดบริเวณที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ด้วยสบู่หรือน้ำสะอาดให้ได้มากที่สุด
- ให้นำผู้ที่ได้รับพิษจากยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ส่งโรงพยาบาล พบแพทย์โดยเร็วที่สุด พร้อมบอกชื่อสารเคมีที่ใช้หรือนำผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากข้อมูลผลิตภัณฑ์ให้แพทย์วินิจฉัยยาแก้พิษ
- การแก้พิษเบื้องต้น
กรณีได้รับพิษทางปาก ให้ทำให้อาเจียนด้วยน้ำเกลือ ผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 แก้ว แล้วล้วงคอให้อาเจียน
กรณีได้รับพิษทางตา ผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที
ข้อควรปฏิบัติ ข้อควรระวังในการใช้ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว มีหลากหลายวิธีการที่ต้องทำอย่างเคร่งครัด สำหรับการคุมหญ้า วัชพืช ในนาข้าว เกษตรกรบางคนอาจได้รับคำแนะนำว่า ควรทำตอนข้าวอายุได้ 6 วัน จึงจะช่วยให้ทั้งคุมและฆ่าหญ้าได้ในเวลาเดียวกัน และต้องรักษาระดับน้ำให้ดี แต่สุดท้ายแล้วการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ก็ถือเป็นวัตถุมีพิษ เป็นอันตราย ต้องใช้อย่างผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงผลกระทบและต้องปฏิบัติตามวิธีการใช้ ข้อบ่งชี้อย่างระมัดระวัง เคร่งครัด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
บริษัท เคมแฟค จำกัด ผู้ผลิต นำเข้า จำหน่าย สินค้าเคมีทางการเกษตรชั้นนำ ภายใต้แบรนด์ “กระทิงคู่” ผลิตภัณฑ์สารกำจัดวัชพืช ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว “นาฟียา” “เคมเท๊กซ์ 50 เอสซี” “มาริช” ผลิตภัณฑ์สารกำจัดแมลงศัตรูพืช ผลิตภัณฑ์สารป้องกันและกำจัดเชื้อรา ฮอร์โมนและอาหารเสริม ด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน จากทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ เครื่องจักรทันสมัยครบวงจร ด้วยประสบการณ์และเป็นที่ยอมรับมากว่า 20 ปี เรามุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตอบสนองความต้องการของเกษตรกร ป้องกัน กำจัด แก้ไขปัญหา โรคพืช วัชพืช แมลง ส่งเสริมให้ได้ผลิตผลอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน พืชผลที่ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม ด้วยมาตรฐาน GMP, ISO9001, ISO14001 และ ISO/IEC17025 รายแรกของประเทศไทย และได้รับการรับรองเป็นผู้ผลิตวัตถุอันตรายทางการเกษตรที่มีคุณภาพ (Q factory) ของกรมวิชาการเกษตรอีกด้วย เราพร้อมให้บริการลูกค้าและเกษตรกรทุกท่านอย่างเต็มความสามารถเพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพและความปลอดภัยในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไร้กังวล
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784
สำนักงาน บริษัท เคมเทรด จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784