วงจรชีวิตหนอนกระทู้ ข้าวโพดและวิธีกำจัด

หนอนกระทู้ข้าวโพด

คู่มือของเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดในการตัดวงจรหนอนกระทู้ข้าวโพด

สำหรับเกษตรกรนั้นศัตรูตัวร้ายที่คอยทำลายพืชผลที่เพาะปลูกเลยคือแมลงที่คอยกัดกินผลผลิตต่างๆให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะหากเป็นเกษตรกรที่ผลูกข้าวโพดศัตรูที่พวกเค้าต้องเผชิญนั้นคือหนอนกระทู้ข้าวโพดที่คอยกัดกินผลผลิตให้เกิดความเสียหาย อีกทั้งต้นตอของหนอนกระทู้ข้าวโพดนั้นคือทวีปอเมริกา แต่ในปี 2559 ก็เริ่มระบาดไปในแอฟริกา อีก 2 ปีต่อมาก็เข้าไปในอินเดีย จากนั้นก็เริ่มพบในไทยหนอนกระทู้ข้าวโพดจะเริ่มกระบวนการทำลายข้าวโพดตั้งแต่ฟักออกมาจากไข่ใหม่ๆ โดยจะรุมกัดกินใบข้าวโพด จะเห็นเป็นรอยสีขาวๆได้ชัดเจนหลังจากที่ปลูกข้าวโพดไปได้ประมาณ 11 วัน แต่ถ้าหนอนมีอายุประมาณ 3-6 วันแล้ว จะทำให้ข้าวโพดเริ่มเสียหายหนักขึ้น เพราะจะกัดกินยอดข้าวโพดด้วย ทำให้ใบเริ่มเป็นรูพรุน แหว่ง ยอดกุดซึ่งในวันนี้เราจะมาเรียนรู้วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพด และ วิธีกำจัดศัตรูของข้าวโพดพวกนี้กัน

 

วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดที่สามารถพบได้

ก่อนอื่นเราต้องมาเรียนรู้วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดกันก่อนที่เป็นศัตรูตัวร้ายของเกษตรที่คอยปลูกข้าวโพดโดยวงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพด ใช้เวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1,500-2,000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนกระทู้นั้นมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4.0 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีชีวิต 10-21 วัน สามารถบินเคลื่อนย้ายระหว่างแปลง และ อพยพระยะไกลระหว่างประเทศ หรือ ภูมิภาคได้โดยระยะการทำลายกัดกินข้าวโพดนั้นจะอยู่ในช่วงการเป็นหนอนระยะที่ 3-6 ซึ่งจะคอยกัดกินยอดข้าวโพดให้เกิดความเสียหายนั้นเอง

 

วิธีป้องกัน และ กำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพด

  1. การปลูกพืชต้านทานหนอนกระทู้ข้าวโพด
    วิธีเป็นวิธีป้องกันด้วยธรรมชาติ ในต่างประเทศมีการอนุญาตให้ใช้พืชตัดต่อพันธุกรรม จึงมีพืชหลากหลายชนิดที่มีการตัดต่อยีนบีทีเพื่อต้านทานหนอน เช่น ข้าวโพดบีที ฝ้ายบีที แต่บ้านเรายังไม่มีการอนุญาตให้ปลูก จึงยังคงไม่มีพืชต้านทานหนอนชนิดนี้ รวมทั้งหนอนผีเสื้อชนิดอื่นๆ


  2. ใช้วิธีไถดินทำเขต
    การใช้วิธีเขตกรรมนั้นเป็นการไถตากดิน และการเก็บเศษซากพืชอาหาร เพื่อกำจัดดักแด้ที่อยู่ในดิน และปลูกพืชสลับ หรือ หมุนเวียนเพราะการเปลี่ยนพืชจะทำให้พืชอาหารไม่เหมาะสมการออกลูกหลานของหนอนกระทู้ข้าวโพดจะลดจำนวนลง


  3. การปลูกข้าวโพดในช่วงหน้าฝน
    วิธีการผลูกข้าวโพดในช่วงหน้าฝนนั้นจะช่วยให้ความรุนแรงในการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดนั้นจะลดลง เนื่องจากฝนสามารถชะล้างกลุ่มไข่ หรือ หนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟัก หรือ ทำให้หนอนที่อยู่ในดินซึ่งกำลังจะเข้าดักแด้ รวมทั้งดักแด้ที่อยู่ในดินมีชีวิตรอดน้อยลง ทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสาร และ ลดจำนวนครั้งในการพ่นสารลงได้ อย่างไรก็ตามยังต้องมีการติดตามสำรวจแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


  4. การเก็บกลุ่มไข่ และ หนอนกระทู้ข้าวโพด 
    การใช้แรงงานในการคอยเก็บกลุ่มไข่ และ หนอนกระทู้ข้าวโพด โดยเฉพาะหนอนขนาดใหญ่ซึ่งสารเคมีใช้ไม่ได้ผลจะช่วยลดการระบาดลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เนื่องจากหากตัวหนอนเข้าระยะดักแด้ในดินโดยเฉพาะใต้เศษซากพืช และ ตามร่องรอยแยกระแหงของดินใต้โคนต้น การเก็บดักแด้มาทำลายจะช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น


  5. การกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดโดยสารกำจัด
    วิธีใช้สารกำจัดศัตูรพืชซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้พ่นและข้อมูลคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร และสารที่ผ่านการขึ้นทะเบียนอนุญาตให้ใช้ป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดแล้ว สามารถจัดกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์(Mode of action) ของ IRAC มีได้ดังนี้
    • กลุ่ม 5 สไปนีโทแรม 12% SC อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร สไปนีโทแรม 25% WG อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
    • กลุ่ม 6 อิมาเมกตินเบนโซเอต 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร อิมาเมกตินเบนโซเอต 5% WG อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
    • กลุ่ม 13 คลอร์ฟีนาเพอร์ 10% SC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    • กลุ่ม 22 อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    • กลุ่ม 28 คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฟลูเบนไดอะไมด์ 20% WG อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร


ทั้งนี้โดยให้พ่นสารฆ่าแมลงทุก 7 วัน ติดต่อกัน 2-4 ครั้ง และ ต้องสลับกลุ่มสารทุก 30 วัน เพื่อลดความต้านทานสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชนั้นเองอีกทั้งควรพ่นสารเคมีในเวลาเย็น-22.00น จะเป็นช่วงที่ได้ผลมากที่สุด

ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่าหนอนกระทู้ข้าวโพดนั้นเป็นตัวอันตรายของเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดอย่างยิ่งดังนั้นควรหาวิธีกำจัดหนอนพวกนี้โดยใช้วิธีข้างต้นจะเป็นการดีแต่หากจะให้ได้ผลควรใช้ผลิตภัณฑ์สารโปรฟัริช กลุ่ม Cholinesterase inhibitor (CT Oil สูตรน้ำมันละหุ่ง) ป้องกันกำจัดไรต่างๆ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ข้าวโพด ด้วง หนอนคืบกะหล่ำ และแมลงตัวบินต่างๆได้เป็นอย่างดีอีกทั้งทาง บริษัท เคมแฟค จำกัด ยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีเกษตร และ ยากำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ ยาฆ่าแมลง ยากำจัดเพลี้ย ยาฆ่าหนอน ยาฆ่าหญ้า และ ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ที่มีคุณภาพที่ผ่านมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO/IEC 17025 รายแรกของไทย มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์เคมีของเราป้องกันกำจัดแมลง โรคพืช วัชพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784

สำนักงาน บริษัท เคมเทรด จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้