ในปัจจุบันปัญหาของการปลูกพืชไร่นั้นมีหลากหลายทั้งเรื่องแมลงศัตรูพืช ทั้งเรื่องโรคที่จะตามมากับการปลูกซึ่งโดยเฉพาะฤดูฝน เกษตรกรมากมายต่างต้องเผชิญกับโรคที่จะตามมาโดยเฉพาะ เกษตรกรที่ปลูกพืชตระกูลส้ม มะนาวควรระวัง และ ป้องกันการเกิดโรคแคงเกอร์เนื่องจากมีฝนตกติดต่อกัน ทำให้สภาพอากาศชื้น เหมาะต่อการเกิด โรคแคงเกอร์ หรือ ที่ชาวสวนเรียกกันว่าโรคขี้กากส้ม เป็นโรคประจำตัวของพืชตระกูลส้ม บางสายพันธุ์ทนทานต่อโรคนี้ บางสายพันธุ์ก็อ่อนแอต่อโรคนี้ และ เป็นปัญหาส่งผลกระทบถึงผลผลิต อีกทั้งโรคแคงเกอร์นี้สามารถพบการระบาดในหลายประเทศซึ่งประเทศไทยพบว่ามีการระบาดของโรคนี้อย่างกว้างขวาง หากมีการส่งออกผลผลิตไปจำหน่ายต่างประเทศควรมีการควบคุมเป็นพิเศษ เกษตรกรจึงควรให้ความสนใจในการป้องกันกำจัด เพราะในหลายประเทศมีกฎ และระเบียบการนำเข้าเพื่อป้องกันการระบาดของโรคแคงเกอร์อย่างเคร่งครัดดังนั้นในวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคแคงเกอร์กันให้มากขึ้นกัน
โดยโรคแคงเกอร์นั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียตระกูล Xanthomonas axonopodis pv. citri ซึ่งสามารถเข้าทำลาย และ ก่อให้เกิดโรคกับพืชตระกูลส้ม เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ ส้มเขียวหวาน เป็นต้น โดยเฉพาะมะนาวจัดเป็นพืชตระกูลส้มที่อ่อนแอ และ ง่ายต่อการเกิด และ ติดโรคมากที่สุด พบได้ทุกแห่งที่มีการปลูกมะนาว และ ส้ม เดิมชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่าโรคขี้กลาก โรคแคงเกอร์สามารถเข้าทำลายพืชได้เกือบทุกส่วนของต้น ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ ลำต้น รวมทั้งผล
อย่างที่กล่าวมาว่าโรคแคงเกอร์เกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของตัวต้น ทั้งใบอ่อน กิ่ง และ ผลมะนาว ผลส้ม ทำให้เกิดเป็นแผลตกสะเก็ดนูนสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ทั้งใบ กิ่ง และ ผล ซึ่งจะทำให้แผลขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เห็นเป็นวงซ้อนๆ กัน ต่อมาจะเหลืองแห้ง และ หลุดร่วงไป อาการจะลุกลามติดกับใบอ่อนที่เกิดบาดแผลจากหนอนชอนใบเข้าทำลาย อาการเริ่มแรกที่พบเห็นเป็นจุดฉ่ำน้ำใสๆ เท่าหัวไม้ขีดไฟ และ จะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตรงกลางแผลจะตกสะเก็ดนูนขึ้น สีน้ำตาลอ่อน ส่วนอาการที่เกิดตามกิ่งอ่อน และ ผลจะพบแผลตกสะเก็ดนูนขึ้นสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน แผลที่กิ่ง และ ผลอาจจะแตกเป็นแผลทำให้เกิดยางไหล ลุกลามไปยังใบทำให้ใบหลุดร่วง และ กิ่งแห้งตายไปในที่สุด
ซึ่งโรคแคงเกอร์นั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งสามารถกระเซ็นทางน้ำ และ ลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวน และ กิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วยนั้นเอง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าโรคแคงเกอร์นั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดแต่ให้เกษตรกรทำความเข้าใจ และ รับมือกับโรคนี้ได้อย่างถูกต้องอีกทั้งยังควรปฏิบัติตามเพื่อเป็นการยับยั้ง และ กำจัดโรคแคงเกอร์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหากต้องการผลิตภัณฑ์ที่สามารถยับยั้ง และ กำจัด โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้มได้อย่างดีเราจอแนะนำผลิตภัณฑ์จากทาง บริษัท เคมแฟค จำกัด ยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีเกษตร และ ยากำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ ยากำจัดเชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อโรคต่างๆในพืช อีกทั้งยังมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดเพลีย ยาฆ่าหนอน ยาฆ่าหญ้า และ ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ที่มีคุณภาพที่ผ่านมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO/IEC 17025 รายแรกของไทย มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์เคมีของเราป้องกันกำจัดแมลง โรคพืช วัชพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784
สำนักงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784