ใบอ่อนทุเรียนร่วงเกิดจากอะไร และแนวทางการแก้ไข
โดยในสภาพฝนเยอะช่วงนี้ ปัญหาสำคัญของชาวสวนทุเรียน คือ ทุเรียนใบไหม้ หรือ ผลอ่อนร่วง เกิดเนื่องจากปริมาณไนโตรเจนสูงหลังฝนตกต่อเนื่อง โดยในน้ำฝนไม่ได้มีไนโตรเจนโดยตรง แต่จะเป็นตัวชะล้างไนโตรเจนที่อยู่ในบรรยากาศให้อยู่ในรูปธาตุไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลให้เกิดการแตกใบอ่อนในทุเรียนผลทุเรียนอ่อนร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสวนทุเรียน ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลรักษา และโรคพืช ซึ่งเราจะมาอธิบายถึงสาเหตุหลักที่ทำให้ผลทุเรียนอ่อนจึงหลุดร่วง
สาเหตุที่ทำให้เกิดผลทุเรียนอ่อนรุดร่วง หรือ ทุเรียนใบไหม้
- ปัญหาด้านสภาพอากาศ
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรุนแรง เช่น ฝนตกหนักต่อเนื่อง ลมแรง หรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นทุเรียนเกิด "ความเครียดทางสรีรวิทยา" ส่งผลให้ผลอ่อนร่วงและเกิดอาการทุเรียนใบไหม้ได้ อีกทั้งในบางกรณี ฝนตกหนักอาจทำให้ดินมีความเค็มสะสมสูง (กรณีน้ำท่วมจากน้ำเค็ม) ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารของรากโดยตรง
หรือปัจจัยหนึ่ง แสงแดดจัดเกินไปก็ส่งผลให้ใบทุเรียนอาจไหม้จากการได้รับแสงแดดแรงโดยตรง โดยเฉพาะในฤดูร้อน หรือ ต้นอ่อนที่ยังไม่มีการปรับตัว อีกทั้งสภาพอากาศแห้ง และลมแรงทำให้เกิดการคายน้ำมากเกินไป ส่งผลให้ปลายใบแห้ง และทุเรียนใบไหม้
- การขาดธาตุอาหาร
- แคลเซียม (Ca) : เป็นธาตุสำคัญที่ช่วยพัฒนาโครงสร้างของเซลล์พืช การขาดแคลเซียมทำให้เซลล์พืชอ่อนแอ ใบไหม้ และผลอ่อนหลุดร่วงง่าย ทำให้ทุเรียนใบไหม้
- โบรอน (B) : ช่วยในการพัฒนาเกสรและผลอ่อน การขาดโบรอนอาจทำให้การผสมเกสรไม่สมบูรณ์และผลร่วงได้
- โพแทสเซียม (K) : ช่วยควบคุมการคายน้ำและการเคลื่อนย้ายสารอาหารในพืช การขาดโพแทสเซียมส่งผลให้ใบมีขอบไหม้และผลอ่อนขาดการพัฒนา
สุดท้ายอาจเกิดอาการแห้งของปุ๋ยไม่สมดุล การใช้ปุ๋ยที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้พืชขาดสารอาหารที่จำเป็นอีกด้วย
- การจัดการน้ำไม่เหมาะสม
ปัญหาในการจัดการน้ำมาก หรือน้ำน้อยเกินไปอาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุเรียน เช่น หากน้ำน้อยจะทำให้ผลอ่อนของทุเรียนนั้น เกิดความเครียด ขาดความชุ่มชื้นหลุดร่วงของผลอ่อน และ หากน้ำมากเกินไป การจัดการน้ำขังในดินอาจจะทำให้รากขาดออกซิเจน เกิดโรครากเน่าโคนเน่า ส่งผลให้ผลอ่อนร่วงนั้นเอง
- ปัญหาการผสมเกสร การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ของดอกทุเรียนก็อาจจะส่งผลต่อการหลุดร่วงขอลผลอ่อน ซึ่งหากเป็นเกสรที่ไม่ได้รับการผสมเกสรอย่างเต็มที่ จะทำให้ผลพัฒนาไม่สมบูรณ์ และร่วงหล่นได้อีกทั้งปัญหาแมลงผสมเกสรน้อยก็อาจจะส่งผล เช่น ผึ้ง หรือ แมลงที่ช่วยผสมเกสรลดจำนวนลงนั้นเอง
- โรค และ แมลงศัตรูพืช
- โรครากเน่า-โคนเน่า (Phytophthora) ซึ่งเกิดจากเชื้อรา ทำให้ระบบรากเสียหาย ต้นทุเรียนไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปยังใบและผลได้
- โรคแอนแทรคโนส สาเหตุของทุเรียนใบไหม้ ทำให้ใบและผลมีจุดสีน้ำตาลเข้มจนลุกลาม ส่งผลให้ใบไหม้และผลอ่อนหลุดร่วง
- รวมถึงแมลงที่อาจทำลายผลอ่อนทุเรียน เช่น เพลี้ยไฟ หรือ แมลงวันทองที่เจาะผล ทำให้ผลอ่อนทุเรียนหลุดร่วง
โรคใบจุดไหม้ (Phytophthora) ที่เกิดจากเชื้อรา เริ่มจากใบมีจุดสีน้ำตาล และลามจนปลายใบไหม้ (ทุเรียนใบไหม้)
- การดูแล และ จัดการผิดวิธี
- การใส่ปุ๋ยที่ไม่สมดุล เช่น ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงในช่วงที่ต้นทุเรียนกำลังออกดอกหรือติดผล ทำให้เกิดการแตกใบอ่อนและผลร่วง
- การตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้ต้นทุเรียนไม่สมดุล ของน้ำ และอาหารไปเลี้ยงผลได้ไม่เต็มที่ หากต้นมีผลมากเกินไป ต้นอาจไม่สามารถเลี้ยงผลทั้งหมดได้ ทำให้ผลอ่อนบางส่วนร่วงหล่นได้
- แมลงศัตรูพืช
แมลงศัตรูพืชอย่างเพลี้ยไฟ เพลี้ยจั๊กจั่น และไรแดง จะส่งให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ซึ่งพวกมันจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ขอบใบแห้ง และ มีใบไหม้ อีกทั้งแมลงชนิดปากดูด อื่นๆ ก็สร้างความเสียหายต่อใบโดยตรง ทำให้เกิดอาการแห้ง และไหม้เช่นกัน
แนวทางแก้ไขปัญหาผลทุเรียนอ่อนร่วง และ ทุเรียนใบไหม้
- ปรับสภาพแวดล้อม
- ลดผลกระทบจากลมแรง : ติดตั้งม่านบังลมรอบแปลงปลูก เช่น ปลูกไม้บังลม เช่น ต้นสนทะเล หรือไม้พุ่มเตี้ย เพื่อป้องกันลมที่อาจทำให้ผลอ่อนร่วงและใบไหม้
- ลดความรุนแรงของสภาพอากาศ : ปลูกพืชคลุมดินหรือพืชแซม เช่น กล้วย หรือข้าวโพดรอบสวน เพื่อช่วยควบคุมความชื้นและลดการชะล้างหน้าดินในช่วงฝนตก
- จัดการธาตุอาหาร
- เสริมแคลเซียม และโบรอน : การขาด แคลเซียมและโบรอน เป็นสาเหตุหลักของการหลุดร่วงของผลอ่อน ควรใส่ปุ๋ยวที่มีแคลเซียมและโบรอน เช่น แคลเซียมไนเตรต หรือพ่นสารทางใบด้วยสารละลายโบรอนในช่วงติดผลอ่อน
- จัดการน้ำ
- รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ: ควรรักษาความชื้นในดินให้เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงแล้ง หลีกเลี่ยงน้ำขังหรือการให้น้ำมากเกินไป
- ปรับปรุงระบบระบายน้ำ: ในกรณีฝนตกหนัก ควรติดตั้งระบบระบายน้ำในสวน เช่น คลองระบายน้ำหรือท่อระบายน้ำ เพื่อป้องกันดินชุ่มน้ำเกินไป
- ส่งเสริมการผสมเกสร
- เพิ่มแมลงผสมเกสร: ปลูกไม้ดอก เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง หรือพืชสมุนไพรที่ช่วยดึงดูดผึ้งและแมลงผสมเกสร
- ช่วยผสมเกสรด้วยมือ: สำหรับพื้นที่ที่ขาดแมลง ควรช่วยผสมเกสรด้วยมือในช่วงดอกบานตอนเย็น ซึ่งเป็นเวลาที่เกสรพร้อมที่สุด
- ป้องกันโรคพืช และ แมลงศัตรูพืช
โรคพืช- ใช้สารชีวภัณฑ์ เช่น ไตรโคเดอร์มา หรือสารเคมีที่เหมาะสม เช่น กรดฟอสฟอรัส ในการควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่า
- ป้องกันโรคใบจุดใบไหม้ และแอนแทรคโนส โดยใช้สารเคมี เช่น เคมมิกซ์ (กลุ่ม 27+M3), ดูริแคท (กลุ่ม 3+11), แอนดูลัส (กลุ่ม 3), ทูแฟคเตอร์ (กลุ่ม 16+M3), คีราเซอร์ (กลุ่ม 3), ริชแล็ค35 (กลุ่ม 4) จากทาง Kemfac เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืชตามความเหมาะสม
แมลงศัตรูพืช
- ใช้กับดักแสงไฟดึงดูดแมลง หรือปล่อยแตนเบียนควบคุม เพลี้ยจั๊กจั่น และเพลี้ยไฟ
- ใช้สารเคมีควบคุม เช่น ริชแแมค (กลุ่ม6), เมล่า (กลุ่ม4A), บาวาริค (กลุ่ม 4A), ทูแทค (กลุ่ม 2B+1A), แพนโดล่า (กลุ่ม 23 ) หรือสารอื่นตามคำแนะนำ
- คัดเลือกผล
- ลดจำนวนผลต่อช่อ : คัดเลือกผลที่มีขนาดใกล้เคียงกันและลดผลต่ออช่อลงเหลือประมาณ 1-2 ผลเพื่อให้ต้นสามารถเลี้ยงผลได้เต็มที่
- ตัดผลอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ : หากพบผลอ่อนที่ผิดปกติหรือได้รับความเสียหาย ควรตัดออกเพื่อรักษาความสมดุลของต้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการดูแลที่ถูกต้องจะช่วยลดปัญหาผลอ่อนทุเรียนร่วง และ ทุเรียนใบไหม้ได้ อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพผลผลิตของทุเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาการใบไหม้ของทุเรียนเกิดได้จากหลายปัจจัย การดูแลเรื่องน้ำ ธาตุอาหาร และ การป้องกันโรค หรือ แมลงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษา และ ป้องกันต้นทุเรียนให้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงหากสนใจในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ลดปัญหาทุเรียนผลอ่อนหลุดร่วงเราขอแนะนำ ผลิตภัณฑ์จากทาง บริษัท เคมแฟค จำกัด ซึ่งยังมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีเกษตร และยากำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ ยากำจัดเพลี้ยไฟซึ่งช่วยให้ลดปัญหาทุเรียนใบไหม้ แล เชื้อโรคในพืช อีกทั้งยังมี ยาฆ่าแมลง ยากำจัดเพลี้ย ยาฆ่าหนอน ยาฆ่าหญ้า และ ยาฆ่าหญ้าในนาข้าว ที่มีคุณภาพที่ผ่านมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO/IEC 17025 รายแรกของไทย จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์เคมีของเราสามารถป้องกันกำจัดแมลง โรคพืช วัชพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784
สำนักงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784