ความแตกต่างของสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) แต่ละชนิด

ประเภทที่แตกต่างของยาฆ่าหญ้า

ประเภทที่แตกต่างของสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า)นำมาซึ่งฤทธิ์ทำลายที่แตกต่าง

หญ้าเป็นวัชพืชที่เป็นศัตรูตัวร้ายของการทำเกษตรกรรมเพราะหญ้าจะแย่งสารอาหารของพืชที่มีการเพาะปลูก ทั้งการแย่งสารอาหารในดิน แทงรากเข้าไปเจาะที่ท่อน้ำเลี้ยงของพืช หรือบังแสงทำให้พืชที่เราปลูกไม่จริญเติบโตและตายในที่สุด ซึ่งทั้งหมดเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ผลผลิตน้อยส่งผลให้ได้ยอดขายน้อยกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้ เกษตรกรจึงต้องหาวิธีการกำจัดหญ้าซึ่งหนึ่งในวิธียอดนิยมคือการใช้สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) เพราะเป็นวิธีที่สามารถกำจัดหญ้าได้อย่างรวดเร็วที่จะช่วยลดโอกาสที่พืชจะเกิดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก ซึ่งยาฆ่าหญ้าก็มีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทก็มีฤทธิ์ในการทำลายหญ้าที่แตกต่างกัน

 

ประเภทของสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) เลือกที่ถูกต้องช่วยกำจัดหญ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  1. สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) ที่แบ่งตามช่วงเวลาในการเพาะปลูก โดยแบ่งทั้งหมดเป็น 3 ช่วงเวลา
    • ก่อนเพาะปลูก
      ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะใช้ฉีดพ่นก่อนการเตรียมดินเพื่อกำจัดหญ้าที่มีบนพื้นที่ที่ต้องการจะทำการเพาะปลูก โดยส่วนใหญ่หากฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าแล้วจะทำการไถเตรียมดิน หรือจะฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืชเลยหลังการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าเลยก็ได้ ซึ่งยาฆ่าหญ้าประเภทนี้หากหญ้าดูดซึมเข้าไปทางใบหรือลำต้นจะทำให้หญ้าตายและไม่สามารถขึ้นมาใหม่ได้อีกครั้ง ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ เช่น อะทราซีนที่ฉีดพ้นเคลือบผิวดินที่มีความชื้นเพื่อควบคุมการงอกของเมล็ดหญ้าและที่พึ่งงอกจะออกฤทธิ์เต็มประสิทธิภาพไม่ฟุ้งกระจายจึงปลอดภัยต่อพืชรอบข้าง อะทราซีนนิยมใช้ในไร่อ้อย, ไร่ข้าวโพด, ไร่ข้าวฟ่าง, ไร่สับปะรด, ไร่หน่อไม้ฝรั่ง และพืชไร่ เป็นต้น

    • ก่อนต้นอ่อนงอก
      เกษตรกรจะเรียกยาฆ่าหญ้าชนิดนี้ว่า ยาคุมหญ้า ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืชไม่เกิน 7 วัน เป็นการพ่นไปที่ผิวดินโดยตรง ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะเข้าไปทำลายหญ้าในส่วนของเมล็ด ราก และยอดอ่อนใต้ดิน และใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้างได้ ซึ่งการใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะต้องพ่นในสภาพที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสม ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ เช่น อะลาคลอร์เป็นสารกำจัดวัชพืชในกลุ่ม chloroacetamides ที่ออกฤทธิ์ในการดูดซึมเพื่อกำจัดวัชพืชที่อยู่ใต้ดินและยอดอ่อนชนิดของพืชที่เหมาะสม เช่น ข้าวโพด, ถั่ว, อ้อย, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, พริก, หอม, กระเทียม, ผักกาด, กะหล่ำปลี และพืชผักชนิดอื่น ๆ, ควินคลอแรก กำจัดวัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าข้าวนก หรือวัชพืชหลังงอกในนาหว่านน้ำตม และควิซาโลฟอป-พี-เอทิลใช้กำจัดวัชพืชหลังงอกระยะเริ่มต้น กำจัดวัชพืชใบแคบไม่เกิน 3-4 ใบ และในพืชใบกว้าง เขา หญ้านกสีชมพู, หญ้าปากควาย มีความปลอดภัยต่อพืชที่ปลูกเพราะหากวัชพืชดูดซึมจะทำลายทั้งต้นและราก

    • หลังต้นอ่อนงอก
      จะใช้ฉีดพ่นหลังจากวัชพืชงอกขึ้นมาแล้ว 7 วันขึ้นไป โดยจะต้องฉีดพ่นให้โดนทุกส่วนของหญ้าให้มากที่สุด ยาฆ่าหญ้าที่ใช้ฉีดพ่นหลังการงอก ได้แก่ ไพราโซซัลฟูรอน-เอทิลใช้ในการกำจัดวัชพืชประเภทใบกว้าง เช่น ผักปอดนา และวัชพืชประเภทกก เช่น กกขนาก, กกทราย ชนิดของพืชที่เหมาะสม เช่น อ้อยหรือนาข้าว, ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียมใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้าง เช่น หญ้าขจรจบดอกเล็ก, สาบม่วง และไมยราบหนาม ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียมสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด, ออกซีฟลูออร์เฟนใช้กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้าง เช่น หญ้านกสีชมพู, หญ้าดอกขาว,ผักเบี้ยหิน และผักโขม จะฉีดผ่นเพื่อคุมและฆ่าวัชพืชทั้งก่อนและหลังงอกในพืชประธาน ชนิดของพืชที่เหมาะสม เช่น ผัก, มะเขือเทศ, หอม, กระเทียม และถั่ว และ 2,4-ดี ไดเมทิลแอมโมเนียมกำจัดเฉพาะวัชพืชใบกว้าง ในนาข้าวและพืชไร่ เช่น ผักปอด, เทียนนา, หนวดปลาดุก, กกทราย และแห้วหมู เป็นต้น

  2. สารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า)แบ่งตามการทำลายในพืช
    • ยาฆ่าหญ้าประเภททำลายเซลล์ในพืช มีฤทธิ์ในการทำลายเนื่อเยื่อหุ้มเซลล์ของหญ้าหรือวัชพืชอย่างรวดเร็วที่จะทำให้ใบเหี่ยวและแห้งตาย ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อดิน เช่น ไดควอต, โฟมีซาเฟน,อ๊อกซีฟลูออร์เฟน, ซันเฟนทราโซน, คาร์เฟนทราโซน-เอทิล

    • ยาฆ่าหญ้าประเภทที่ควบคุมการเจริญเติบโต การทำลายคล้ายการทำงานของฮอร์โมนเพศ ยาฆ่าหญ้าในกลุ่มนี้จะไปสะสมบริเวณเนื้อเยื่อและชักนำให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีนมากขึ้น และไปกระตุ้นการแบ่งเซลล์ของของพืชทำให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อโป่งพอง ใบลำต้นบิดเกลียวหรือแตก ต้นจะมีขนาดแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตจนสุดท้ายตายในที่สุด สารที่อยู่ในยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ เช่น 2,4-D เอ็มพีซีเอ, ไตรโคลเพอร์, ฟลูรอกซีเพอร์ และควินคลอแรก เป็นต้น

    • ยาฆ่าหญ้าประเภทยับยั้งการสร้างกรดไขมันพืช ยาฆ่าหญ้ากลุ่มนี้จะไปหยุดการทำงานของเอมไซม์ ซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์แสง กรดไขมันในพืชหรือสารที่มีความสำคัญในการสร้างผนังเซลล์หรือการเจริญเติบโต ซึ่งยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะมีฤทธิ์ต่อวัชพืชใบแคบ โดยหากหญ้าได้รับยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะทำให้ใบเหลืองเหี่ยว และทำให้ยืนต้นตายภายใน 10-14 วัน สารที่อยู่ในยาฆ่าหญ้าประเภทนี้เช่น ไซฮาโลฟอบ-บิวทิล, ฟิโนซาฟรอป-พี-เอมิล, ฟลูอะซิฟอบ-พี-มิวทิล, ควิซาโลฟอฟ-พี-เอทิล เป็นต้น

    • ยาฆ่าหญ้าประเภทหยุดการเจริญเติบโตของต้นอ่อน ซึ่งมีผลต่อการแบ่งเซลล์และการขยายขนาดของเซลล์ในกระบวนการแบ่งเซลล์ไมโทซิส โดยจะเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าคือส่วนรากและยอดอ่อน จะมีผลทำให้การเจริญเติบโตของหญ้ามีการหยุดชะงักและตายในที่สุด ยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะฉีดพ่นทางดินและเข้าไปที่รากของหญ้า สารที่อยู่ในยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ ได้แก่ บิวทาคลอร์ ใช้ควบคุมวัชพืชใบแคบและใบกว้าง เช่น หญ้าดอกขาว, หญ้าข้าวนก และหนวดปลาดุกเหมาะสำหรับในข้าวนาหว่านและนาตม

    • ยาฆ่าหญ้าประเภทยับยั้งการสังเคราะห์แสง จะไปหยุดการสังเคราะห์แสงของหญ้าทำให้ไม่สามารถสร้างอาหารได้จึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งยาฆ่าหญ้าจะเข้าทางรากอ่อนและเข้าทางใบ หญ้าที่โดนฉีดพ่นด้วยยาฆ่าหญ้าประเภทนี้จะมีใบเหลืองซีดจนสุดท้ายยืดต้นแห้งและตายในที่สุด สารที่อยู่ในยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ ได้แก่ อะมีทรีนเป็นสารกลุ่ม Triazines แบบเลือกทำลาย ชนิดของพืชที่เหมาะสม เช่น อ้อยหรือนาข้าว

    • ยาฆ่าหญ้าประเภทยังยั้งการช่วยสังเคราะห์แสง กลุ่มยับยั้งสารช่วยสังเคราะห์แสง เป็นสารยับยั้งการสร้างรงควัตถุคือแคโรทีนอยด์ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง โดยวัชพืชจะแสดงอาการใบซีดขาวทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้จนตายในที่สุด ตัวอย่างสารกลุ่มนี้ได้แก่ มีโซไตรโอน, ไอซอกซาฟลูโทล, โทพรามีโซน, โคลมาโซน เป็นต้น

    • ยาฆ่าหญ้าประเภทหยุดการสร้างกรดอะมิโนในพืช จะไปหยุดการทำงานของเอมไซม์ที่เจาะจงกับการสร้างกรดอะมิโน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการสร้างโปรตีน เมื่อกรดอะมิโนหยุดการทำงานทำให้มีปริมาณที่ลดลง จึงทำให้หญ้าไม่เจริญเติบโตและตายในที่สุด สารที่อยู่ในยาฆ่าหญ้าประเภทนี้ ได้แก่ บิสไพริแบค-โซเดียม ใช้กำจัดวัชพืชในใบแคบและใบกว้าง เช่น หญ้าข้าวนก, หญ้าแดง, เทียนนา และผักปอด ใช้กับในนาหว่าน, นาตม, นาข้าวแห้ง, นาดำ และพืชสวนต่าง ๆ

ความแตกต่างของยาฆ่าหญ้าทำให้สามารถกำจัดหญ้าได้อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพถูกต้องตามบริบท ซึ่งในทางเกษตรกรรมยาฆ่าหญ้าถือได้ว่ามีประโยชน์อย่างมาก ที่ช่วยประหยัดเวลาและค่าแรงงานทำให้ต้นทุนของธุรกิจลดลงที่มีโอกาสสร้างผลกำไรที่ดีได้ แต่ที่ต้องระวังในการใช้งานของยาฆ่าหญ้าคืออันตรายจากสารเคมีที่มีในยาฆ่าหญ้าทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นก่อนใช้งานยาฆ่าหญ้าจึงควรศึกษาวิธีใช้งานอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้

เคมแฟค ผลิตภัณฑ์จำกัดแมลงศัตรูพืช จำหน่าย ยาฆ่าหญ้า, ยาคุมหญ้า, ยากำจัดเพลี้ย, กำจัดแมลงศัตรูพืช คุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 และ ISO/IEC 17025 จึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์เคมีสามารถป้องกันและกำจัดแมลง โรคพืช วัชพืช ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้เกษตรกรได้ผลผลิตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และยังปลอดภัยทั้งต่อมนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784

สำนักงาน บริษัท เคมเทรด จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้