ผลผลิตทางการเกษตรจะดีหรือไม่ การกำจัดวัชพืชถือเป็นส่วนสำคัญ ลองมาดูข้อดีและข้อเสียของการใช้ยาฆ่าหญ้าและแบบไม่ใช้กันดีกว่า
สำหรับเกษตรกรที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยากำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าเป็นหนึ่งในกระบวนการดูแล แม้เป็นสารเคมีแต่ด้วยหลายเหตุผลและปัจจัยทางการเก็บเกี่ยวทำให้เกษตรกรมีการใช้ยาฆ่าหญ้าอยู่ต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลเร็วและไม่ส่งผลเสียกับพืชและผลผลิตในฤดูกาลนั้นๆ ดังนั้นจึงจะมาเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของการใช้ยาฆ่าหญ้ากับไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรเพื่อพิจารณาในการเลือกใช้งาน
ยากำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้า เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชในส่วนที่เราไม่ต้องการ เช่น พื้นที่กว้างรกร้างที่มีวัชพืชลุกลามจำนวนมาก มีการใช้ยาฆ่าหญ้ากันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนมากจะมีฤทธิ์ฆ่าพืชทั้งแบบเลือกทำลายและไม่เลือกทำลาย ซึ่งประกอบด้วยสารประกอบทางเคมีที่เป็นฮอร์โมนพืชสังเคราะห์ หากใช้ยาแบบชนิดเลือกทำลายหลังจากถูกดูดซึมลงดินจะไปรบกวนเฉพาะกระบวนการเติบโตของพืช และชนิดไม่เลือกทำลายจะมีฤทธิ์ฆ่าพืชในบริเวณนั้นทุกชนิด แต่ก็ยังมีขั้นตอนที่ปลูกพืชโดยไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าเช่นกัน เช่น ใช้วิธีควบคุมวัชพืชโดยใช้วิธีชีวภาพ ได้แก่ การใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักร การปลูกพืชคลุมดิน สัตว์เลี้ยงกินหญ้า เช่น ห่าน แกะ แพะ ม้า วัว ควาย เป็นต้น เพื่อควบคุมการเติบโตของประชากรวัชพืช
ข้อดี-ข้อเสีย ของการไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า
- การใช้ศัตรูธรรมชาติของวัชพืช นอกจากจะยับยั้งวัชพืชได้แล้ว สิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมจะสามารถผลิตและแพร่ขยายประชากรในสภาพแวดล้อมด้วยตัวมันเอง ทำให้สามารถคุมวัชพืชตลอดไปได้ยาวนานจนกว่าสภาวะสมดุลจะถูกทำลาย
- ช่วยทำให้ดินไม่แข็งตัว ผลผลิตดีขึ้น จากการปลูกพืชหมุนเวียนแบบไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า เนื่องจากวัชพืชบางชนิดมีความสัมพันธ์กับพืชปลูกชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น หญ้าคาในสวนผลไม้ หญ้าข้าวนกในนาข้าว การเปลี่ยนชนิดพืชจะทำให้วัชพืชลดลงและยังได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงมีคุณภาพดีขึ้นเนื่องจากพืชหมุนเวียนจะมีโรคและแมลงศัตรูพืชที่ต่างกัน ระบบรากและการกระจายของรากที่แตกต่างก็ยังช่วยปรับสภาพและโครงสร้างดินให้เหมาะกับการเติบโตของพืชได้ด้วย
- ไม่มีสารเคมีตกค้างในสวน อย่างที่ทราบกันว่ายาฆ่าหญ้านั้นเป็นสารเคมีและต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้งาน การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดวัชพืชจึงทำให้ปลอดภัยต่อพืชและคน รวมถึงไม่มีสารเคมีตกค้างในพืชผักหรือผลไม้อีกด้วย
- จะเกิดความยุ่งยากในการควบคุมและกำจัดวัชพืช เช่น การใช้แรงงานหรือเครื่องจักร อาจต้องใช้เวลาและความถี่บ่อยอย่างมากในการควบคุมมากกว่าการใช้ยาฆ่าย่า ส่งผลให้เกิดต้นทุนการผลิตที่สุงขึ้น
- วัชพืชเพิ่มจำนวนเร็ว บางชนิดแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ซึ่งการไม่ควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพอาจทำให้วัชพืชกีดขวางการเจริญเติบโตของพืชหลัก และลดผลผลิตทางการเกษตร
- แม้ว่าการไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าอาจลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แต่การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีการธรรมชาติหรือเชิงกล มักมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูงกว่าในระยะสั้น
- การไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าอาจมีประสิทธิภาพต่ำกว่าในบางกรณี เช่นพื้นที่ที่ยากต่อการจัดการ
ข้อดี-ข้อเสีย ของการใช้ยาฆ่าหญ้า
- มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน
โดยยาฆ่าหญ้าสามารถจำแนกตามช่วงเวลาการใช้ได้ดังนี้
- สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูก เป็นสารเคมีที่ใช้พ่นก่อนการเตรียมดิน สารประเภทนี้ได้แก่ ไกลโฟเซต, กรูโฟซิเนต หรือที่รู้จักกันว่า ยาเผาไหม้ หรือ ยาดูดซึม (กรูโฟซิเนต จะเป็นยากึ่งดูดซึม เนื้อยาไม่ฟุ้งกระจาย สลายเร็ว)
- สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ส่วนใหญ่เกษตรกรเรียกว่ายาคุมหญ้า เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช และก่อนวัชพืชจะงอกในเวลาไม่เกิน 10 วัน สารประเภทนี้ได้แก่ ออกซีฟลูออเฟน 23.5% EC (ไนซัส), บิวทาคลอร์ 60% EC (บิวทาริช), เพรททิลาคลอร์ 30% EC (คูมาเลน ),อะลาคลอร์ 48%EC (อะลาริช), อะซีโทรคลอร์ 50%EC (อะบูต้า),ไดยูรอน 80%WP (ดิลล่อน) หรือ เพนดิเมทาลิน 33%EC (วาฮาร่า)
- สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ส่วนใหญ่เรียกกันว่ายาฆ่าหญ้า เป็นสารเคมีที่ฉีดพ่นหลังจากวัชพืชงอกขึ้นมาช่วงที่เกินกว่า 10 วันขึ้นไป โดยพยายามฉีดพ่นให้สัมผัสวัชพืชมากที่สุด สารประเภทนี้ เช่น กลุ่มยา โคลมาโซน 12%EC+โพรพานิล 27%EC (กราวิตี้), ควินคลอแรก34%WP+เบนซัลฟูรอนเมทิล25%WP (เอดูซ่า), ฟลูรอกซิเพอร์ 28.8% EC (มายูส), 2,4-D ไดเมทิลแอมโมเนียม 84%SL (ริชแพ็ค), เอ็มซีพีเอ 30%SL หรือที่รู้กันในชื่อ เอโซ่30 (เอโซ่เขียว,เอโซ่เหลือง)
- สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพที่ดีในการควบคุมวัชพืช
ด้วยประสิทธิภาพอย่างที่กล่าวไป ยาฆ่าหญ้าหรือสารกำจัดวัชพืชค่อนข้างให้ผลลัพธ์ที่ดีในการฆ่าหรือยับยั้งการงอกของวัชพืช ทำให้สะดวก รวดเร็ว ในการใช้งานและการทำเกษตรแต่ละครั้ง แต่ด้วยความที่เป็นสารเคมี ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาฆ่าหญ้า ทั้งเรื่องชนิด การเลือกใช้ และวิธีใช้ที่เหมาะสมและปลอดภัย เช่น ควรรู้เกี่ยวกับสารออกฤทธิ์การเลือกทำลายวัชพืชหรือสารสำคัญ, สารผสม และชื่อสามัญ โดยทั้ง 3 ข้อนี้ จะมีระบุอยู่ที่ฉลากของสารกำจัดวัชพืช สามารถใช้เป็นข้อพิจารณา เพื่อการเลือกซื้อสารกำจัดวัชพืชได้ ดังนั้น เมื่อต้องทำการเลือกซื้อ จึงควรดูทั้ง 3 สิ่งนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อ เพื่อที่จะได้ไม่ซื้อสารกำจัดวัชพืชที่ซ้ำกัน หรือออกฤทธิ์แบบเดียวกัน
- การใช้ยาฆ่าหญ้าส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ที่กระทบทั้งต่อตัวเกษตรกรผู้ใช้และต่อพื้นที่ที่ใช้ และยังสามารถเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้ โดยเข้าสู่ทางผิวหนัง การสูดลมหายใจเข้าไป และการกลืนกินหรือดื่มน้ำ โดยแต่ละวิธีนี้จะมีเข้าสู่ร่างกายที่แตกต่างกันไป โดยการกลืนกินนั้นจะพบมากในช่วงที่ฉีดพ่นสารเคมีและละอองของสารเคมีนั้นไปตกอยู่น้ำดื่มบ้าง หรือแม้กระทั่งอาหารที่เกษตรกรนำไปด้วยบ้าง รวมถึงคนรอบข้างที่ผ่านไปมาในบริเวณใกล้เคียงอาจได้รับสารเคมีจากการสูดเอาอากาศและละอองเคมีเข้าร่างกายแบบไม่รู้ตัว แนะนำให้มีการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอย่างถูกต้องโดยมีอุปกรณ์ป้องกันอันตราส่วนบุคคลที่จำเป็น เช่น - ถุงมือยางชนิดทนวัตถุอันตรายทางการเกษตร เลือกขนาดที่กระชับ สะดวกในการจับ
- บังหน้าหรือแว่นตา
- หน้ากากปิดจมูกป้องกันวัตถุอันตรายทางการเกษตร
- ชุดป้องกันวัตถุอันตรายทางการเกษตร ประกอบไปด้วย เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ขาด
- รองเท้าบูท ต้องนำปลายขากางเกงคลุมรองเท้าบูท
- หมวกปีกกว้าง จะช่วยป้องกันขณะพ่นต้นไม้สูง
ดังนั้นการใช้งานยาฆ่าหญ้าสำหรับกำจัดศัตรูพืชจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจก่อนใช้ โดยใช้ให้ถูกชนิดและวิธี เลือกใช้แบบมีฤทธิ์ตกค้างในระยะสั้นและควรสลายตัวโดยเร็ว ไม่ควรใช้แบบที่มีสารเคมีรุนแรงเกินไป และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ผู้ใช้งานเองควรสวมเสื้อผ้าป้องกันให้มิดชิดไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย ถุงมือ ชุดป้องกันหรือเสื้อผ้าหนาๆ หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าแบบสบายๆ หรือฟรีสไตล์ในขณะฉีดพ่น เพราะจะส่งผลกระทบต่อตัวผู้ใช้ได้อย่างง่ายดาย และต้องทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าเสร็จทันที
หากจำเป็นต้องเลือกใช้ยาฆ่าหญ้าเพราะต้องการความสะดวก ประหยัดเวลา ควรเลือกใช้ยาฆ่าหญ้าที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นสารเคมีที่มีความรุนแรงเกินไป เคมแฟค ผู้ผลิตและนำเข้าสินค้าเคมีเกษตรชั้นนำ รวมถึงยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงศัตรูพืช คุณภาพมาตรฐานภายใต้แบรนด์การค้า ตรากระทิงคู่ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตแบบเต็มคุณภาพ ปลอดภัยต่อพี่น้องเกษตรกร ปลอดภัยต่อพืชที่ปลูก ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ ปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โรงงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
990 นิคมอุตสาหกรรมบางปู หมู่ 2
ต.บางปูใหม่ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280
โทร. 02-709-2597-8 แฟกซ์: 02-709-6784
สำนักงาน บริษัท เคมแฟค จำกัด
68 ซ.เฉลิมพระเกียรติ ร.9 ซอย 34
แขวงหนองบอน เขตประเวศ กทม. 10250
โทร. 02-7267498-99 แฟกซ์: 02-709-6784